เทรดสินค้าโภคภัณฑ์ด้วย CFD คืออะไร: มาเรียนรู้กัน

โดย Katerina Parpa

ผู้สื่อข่าวด้านการเงิน

เริ่มเทรด

ข้อมูลนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำการลงทุน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่อาจใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ผลการดำเนินงานในอนาคต เงินลงทุนของคุณมีความเสี่ยง โปรดเทรดอย่างรอบคอบ

แชร์

หากคุณสงสัยว่าการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์คืออะไร และมีวิธีการเทรดอย่างไร คุณกำลังจะก้าวเข้าสู่โลกอันน่าตื่นเต้นของตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นตลาดที่มีการซื้อขายทรัพยากรธรรมชาติและสินค้าอื่นๆ เกิดขึ้นทุกวัน คู่มือนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจตลาดการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์แบบง่าย ๆ พร้อมแนะนำวิธีเริ่มต้นเทรดผ่าน CFD (สัญญาซื้อขายส่วนต่าง) โดยไม่ต้องถือครองสินค้าจริง เราจะมาเจาะลึกวิธีการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์แต่ละชนิด รวมถึงวิธีการกระจายพอร์ทการลงทุนของคุณด้วยสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ และจะสำรวจข้อดีและความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการเทรดโลหะและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ รวมถึงขั้นตอนปฏิบัติในการเริ่มต้นเทรดโลหะมีค่าและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ

การเทรดสินค้าโภคภัณฑ์คืออะไร

การเทรดสินค้าโภคภัณฑ์เป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการซื้อขายวัตถุดิบ สินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมัน ทองคำ และเงิน เป็นวัตถุดิบสำคัญพื้นฐานในการขับเคลื่อนการค้าและอุตสาหกรรมทั่วโลก จึงมีบทบาทสำคัญต่อการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจ เทรดเดอร์เข้ามาเทรดในตลาดนี้เพื่อหวังผลกำไรจากความผันผวนของราคาซึ่งได้รับแรงหนุนจากการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทาน เทรดเดอร์สามารถทำกำไรจากการเทรดได้ทั้งจากการซื้อหรือขาย โดยการคาดการณ์ว่าราคาของสินค้าจำเป็นเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง

สินค้าโภคภัณฑ์คืออะไร

โดยพื้นฐานแล้ว สินค้าโภคภัณฑ์คือสินค้าพื้นฐานที่ใช้ในการค้าขาย ซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนกับสินค้าประเภทเดียวกันอื่นๆ ได้ ลักษณะเฉพาะของสินค้าโภคภัณฑ์ทำให้ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ผลิต คุณภาพและคุณสมบัติก็ยังคงเหมือนเดิม เนื่องจากสินค้าโภคภัณฑ์มีคุณสมบัติที่เหมือนกัน จึงเกิดตลาดซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์เฉพาะขึ้นมา โดยมีกฎระเบียบควบคุมและกำหนดมาตรฐานการซื้อขายสินค้าเหล่านี้อย่างชัดเจน ตลาดเหล่านี้ช่วยให้การซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เทรดเดอร์และนักลงทุนสามารถทำธุรกรรมได้อย่างมั่นใจเพราะสินค้ามีคุณภาพและมาตรฐานเดียวกัน

ที่ Exness เราให้บริการเข้าถึงการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น โลหะมีค่า น้ำมัน และก๊าซ

การเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ด้วยสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) ให้ประสบการณ์ที่แตกต่างจากการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์แบบดั้งเดิมผ่านตลาดสินค้าโภคภัณฑ์

การเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ด้วยสัญญาซื้อขายส่วนต่าง

สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) เป็นตราสารอนุพันธ์ทางการเงินที่ให้เทรดเดอร์สามารถเก็งกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของสินค้าโภคภัณฑ์จริง เมื่อคุณลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ผ่านสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) หมายความว่าคุณตกลงที่จะแลกเปลี่ยนส่วนต่างของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตั้งแต่เวลาที่เปิดสัญญาจนถึงเวลาปิดสัญญา

ความแตกต่างที่สำคัญจากการเทรดแบบดั้งเดิม

เลเวอเรจ:การเทรด CFD มักเกี่ยวข้องกับเลเวอเรจ ซึ่งหมายความว่าเทรดเดอร์สามารถเปิดสถานะการลงทุนขนาดใหญ่ได้ด้วยเงินทุนจำนวนน้อย สิ่งนี้อาจช่วยเพิ่มโอกาสทำกำไรได้มากขึ้น แต่ก็ทำให้ขาดทุนได้มากขึ้นเช่นกัน

การเป็นเจ้าของ: เมื่อเทรด CFD คุณจะไม่ได้เป็นเจ้าของสินค้าโภคภัณฑ์จริงๆ คุณเพียงแค่เก็งกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคา ดังนั้นคุณจึงไม่ต้องกังวลเรื่องการจัดเก็บหรือขนส่ง

การขาย: CFD ทำให้การขายสะดวกกว่า และสามารถทำกำไรจากตลาดขาลงได้ ซึ่งมีความซับซ้อนกว่าการเทรดแบบดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและสินค้าโภคภัณฑ์จริงที่ต้องส่งมอบ

การเข้าถึงตลาดโลก: การเทรด CFD ช่วยให้เทรดเดอร์เข้าถึงตลาดการเงินทั่วโลกได้จากแพลตฟอร์มเดียวอย่างสะดวกสบายและหลากหลายมากกว่าการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์แบบดั้งเดิม

ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียม: การเทรด CFD อาจมีโครงสร้างค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน รวมถึงสเปรด ค่าธรรมเนียมการถือสถานะข้ามคืน (ค่าสว็อป) และค่าคอมมิชชั่น ซึ่งแตกต่างจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเทรดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบดั้งเดิม

ช่วงเวลาเทรด: ตลาด CFD มักมีเวลาทำการที่ยาวนานกว่าตลาดสินค้าโภคภัณฑ์แบบดั้งเดิม ทำให้นักลงทุนสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อตลาดได้ทันที

กฎเกณฑ์: กฎระเบียบเกี่ยวกับ CFD นั้นแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละภูมิภาค และในบางเขตอำนาจศาล การเทรด CFD อาจไม่ได้รับอนุญาต

การทำความเข้าใจทั้งข้อดีและข้อเสียของการเทรด CFD รวมถึงรายละเอียดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง

เทรดสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทใดได้บ้าง

ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์มีขนาดใหญ่และหลากหลาย ครอบคลุมสินค้าหลากหลายชนิดที่แบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่ โลหะ พลังงาน ปศุสัตว์และเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ที่ Exness เราเปิดโอกาสให้เทรดเดอร์ของเราได้เทรด CFD ในสินค้าโภคภัณฑ์ 2 ประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ โลหะและพลังงาน

การเทรดโลหะ

ในกลุ่มโลหะนั้น เราจะเห็นการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์อย่างทองคำ เงิน แพลทินัม และทองแดง ในช่วงเวลาที่ตลาดผันผวนหรือเศรษฐกิจตกต่ำ เทรดเดอร์มักสนใจโลหะมีค่า โดยเฉพาะทองคำ เพราะถือเป็นสินทรัพย์ที่รักษาค่าได้ดีและปลอดภัย นอกจากนี้ โลหะยังช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อและค่าเงินตก ทำให้เป็นสินค้าที่นิยมเทรดในตลาดนี้

การเทรดพลังงาน

พลังงานที่เราใช้กันในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำมันดิบ น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันเบนซิน ก็จัดเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดหนึ่ง อุตสาหกรรมพลังงานนั้นได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกและการผลิตเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผลิตน้ำมันน้อยลง แต่คนยังต้องการใช้น้ำมันเท่าเดิมหรือต้องการมากขึ้น ราคาน้ำมันก็จะสูงขึ้น ดังนั้น การเทรดสินค้าโภคภัณฑ์พลังงานจึงได้รับอิทธิพลจากปัจจัยมากมาย ทั้งเหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ไปจนถึงความก้าวหน้าของแหล่งพลังงานทางเลือกสำหรับน้ำมันและก๊าซ

การทำความเข้าใจตลาดสินค้าโภคภัณฑ์

ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์คือแพลตฟอร์มที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ สินทรัพย์ที่จับต้องได้ และสินค้าขั้นต้น หรือสินค้าหลัก สินค้าโภคภัณฑ์ครอบคลุมสินค้าหลายประเภท ตั้งแต่พืชผลทางการเกษตรอย่างข้าวสาลี ฝ้าย ไปจนถึงพลังงานอย่างน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รวมถึงโลหะมีค่าอย่างทองคำและเงิน การทำความเข้าใจการทำงานของตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และอุปทาน รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีอิทธิพลต่อราคาและการเคลื่อนไหวของตลาด บริษัทและนักลงทุนเข้ามาลงทุนในตลาดจริง เพื่อป้องกันความผันผวนของราคา เก็งกำไร หรือเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีวัตถุดิบใช้อย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์

มีหลายปัจจัยหลักที่สามารถทำให้ตลาดนี้เคลื่อนไหวได้ อุปสงค์และอุปทานเป็นปัจจัยพื้นฐาน: เมื่ออุปทานน้อยกว่าความต้องการ ราคาจะสูงขึ้น แต่ถ้าอุปทานมากกว่าความต้องการ ราคาจะลดลง ปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐบาล สามารถทำให้ปริมาณและราคาของสินค้าเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ยิ่งไปกว่านั้น สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เป็นอยู่และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น สามารถเปลี่ยนแปลงความต้องการใช้สินค้าโภคภัณฑ์ในระยะยาวได้ การเก็งกำไรในตลาดและปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพอากาศ การเก็บรักษา และค่าขนส่ง ก็มีส่วนทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ขึ้นลงทุกวัน

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์

ราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยหลายประการ ต้นทุนการผลิตและการนำสินค้าโภคภัณฑ์สู่ตลาด เช่น ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาและประกันภัย สามารถส่งผลต่อราคาของสินค้าได้ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนมีความสำคัญเช่นกัน เพราะสินค้าโภคภัณฑ์มักเทรดด้วย สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์สามารถขัดขวางห่วงโซ่อุปทาน ในขณะที่เศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไปก็ส่งผลต่ออุปสงค์ได้ เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยก็มีอิทธิพลเช่นกัน ทำให้หลายคนหันมาลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น การพัฒนาทางเทคโนโลยีสามารถลดต้นทุนการผลิตหรือเพิ่มความต้องการสินค้าประเภทใหม่ ในขณะที่สภาพอากาศและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมก็ส่งผลกระทบต่ออุปทานด้านการเกษตรและพลังงานได้เป็นอย่างมาก

ช่วงเวลาการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์

ช่วงเวลาเทรดสินค้าโภคภัณฑ์จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับตลาดและชนิดของสินค้าที่เทรด การเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาทำการของเขตเวลาผู้ผลิต ตัวอย่างเช่น การเทรดสินค้าเกษตรส่วนใหญ่จะทำในช่วงเวลาที่ตลาดในอเมริกา หรือยุโรปเปิดทำการ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่จะเทรดตามเวลาของผู้ผลิต แต่ตลาดโลกทำให้สินค้าโภคภัณฑ์บางชนิดสามารถเทรดได้แทบจะตลอด 24 ชั่วโมง เทรดเดอร์จำเป็นต้องทราบช่วงเวลาการเทรดที่แน่นอน เพื่อที่จะเข้าร่วมในการเทรดประเภทนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ช่วงเวลาการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหมดที่แสดงบนเว็บไซต์ของเรา เป็นเวลาตามเซิร์ฟเวอร์ (GMT+0)

วิธีการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ด้วย CFD

การเทรดโลหะและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ผ่านสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) ทำให้เทรดเดอร์สามารถเก็งกำไรจากการเปลี่ยนแปลงราคาของสินค้าโดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของสินค้าจริง CFD เป็นตราสารทางการเงินอนุพันธ์ที่ให้คุณมีโอกาสทำกำไรจากทั้งการขึ้นและลงของราคาในตลาด อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือควรเข้าใจว่าการเทรด CFD นั้นมีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูง จึงไม่เหมาะสำหรับทุกคน และคุณควรเทรดด้วยเงินที่พร้อมจะสูญเสียได้เท่านั้น ขั้นตอนต่อไปนี้จะแนะนำการเริ่มต้นเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ผ่าน CFD อย่างละเอียด

11 ขั้นตอนสู่การเริ่มต้นเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ด้วย CFD

ขั้นตอนที่ 1: ทำความเข้าใจว่า CFD คืออะไร และทำงานอย่างไร

ก่อนเริ่มเทรด ควรศึกษาให้เข้าใจก่อนว่า CFD คืออะไร และมีความเสี่ยงอะไรบ้าง การเทรด CFD ใช้หลักการเลเวอเรจ ซึ่งหมายความว่าคุณต้องฝากเงินในเปอร์เซ็นต์เพียงเล็กน้อยจากมูลค่าคำสั่งซื้อขายทั้งหมด ซึ่งเป็นทั้งโอกาสในการทำกำไรที่สูงขึ้นและความเสี่ยงในการขาดทุนที่มากขึ้นในเวลาเดียวกัน

ขั้นตอนที่ 2: เลือกโบรกเกอร์ CFD ที่มีความน่าเชื่อถือ

หาข้อมูลและเลือกโบรกเกอร์ CFD ที่น่าเชื่อถือ พิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น กฎเกณฑ์ คุณสมบัติของแพลตฟอร์มการเทรด สินค้าโภคภัณฑ์ที่สามารถเทรดได้ ค่าสเปรด ตัวเลือกเลเวอเรจ การบริการลูกค้า และมาตรการด้านความปลอดภัย

ขั้นตอนที่ 3: เปิดบัญชีเทรด

ลงทะเบียนเปิดบัญชีเทรดกับโบรกเกอร์ที่คุณเลือก โดยทั่วไปแล้ว จะต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคล เอกสารยืนยันตัวตน และเอกสารยืนยันที่อยู่ เพื่อเป็นไปตามข้อกำหนดทางการเงิน

ขั้นตอนที่ 4: ฝากเงินเข้าบัญชี

ฝากเงินเข้าบัญชีเทรดของคุณ ตรวจสอบวิธีการชำระเงินที่โบรกเกอร์รองรับ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณฝากเงินเพียงพอต่อข้อกำหนดมาร์จิ้นสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ที่คุณต้องการเทรด

ขั้นตอนที่ 5: ฝึกเทรดด้วยบัญชีทดลอง

ก่อนตัดสินใจลงทุนจริง ควรฝึกฝนทักษะการเทรดด้วยบัญชีทดลอง ซึ่งจะช่วยให้คุณได้ทำความคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มการเทรดและทดสอบกลยุทธ์การเทรด โดยไม่มีความเสี่ยงทางการเงินใดๆ

ขั้นตอนที่ 6: ศึกษาตลาด

ทำการศึกษาตลาดอย่างละเอียดเพื่อทำความเข้าใจตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ เรียนรู้ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทาน เหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ และตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ

ขั้นตอนที่ 7: วางแผนการเทรด

วางแผนการเทรดโดยละเอียด ครอบคลุมตั้งแต่เป้าหมายการลงทุน ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ กลยุทธ์การเทรด ไปจนถึงเงื่อนไขในการเข้าและออกจากตลาด ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ เพื่อควบคุมความเสี่ยงในการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนที่ 8: วิเคราะห์ตลาด

ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคและการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเพื่อประเมินตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ โดยการวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นการวิเคราะห์กราฟราคา ส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะมุ่งเน้นข้อมูลและเหตุการณ์ภายนอก

ขั้นตอนที่ 9: เลือกสินค้าโภคภัณฑ์ที่ต้องการเทรด

เลือกสินค้าที่จะเทรดให้ตรงกับที่คุณสนใจและวิเคราะห์แล้วว่ามีโอกาสทำกำไร สินค้าโภคภัณฑ์ที่นิยมใช้ในการเทรด CFD ได้แก่ น้ำมัน ทองคำ และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร โดย Exness นั้นเปิดโอกาสให้คุณสามารถเทรดพลังงานและโลหะผ่าน CFD ได้

ขั้นตอนที่ 10: ส่งคำสั่งซื้อขาย

หลังจากเลือกสินค้าที่ต้องการเทรดแล้ว ก็ส่งคำสั่งซื้อขายได้เลย ตัดสินใจซื้อหรือขายสินค้าโภคภัณฑ์ โดยพิจารณาจากแนวโน้มราคาที่คุณคาดการณ์ กำหนดขนาดการเทรด เลเวอเรจ จุดตัดขาดทุน และจุดทำกำไร

ขั้นตอนที่ 11: ติดตามและปิดสถานะ

ติดตามสถานะการลงทุนและตลาดอย่างสม่ำเสมอ เตรียมพร้อมที่จะดำเนินการหากตลาดเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนด หรือทำกำไรเมื่อบรรลุเป้าหมายการเทรด ปิดสถานะเมื่อพร้อม

กลยุทธ์การเทรด CFD สินค้าโภคภัณฑ์

ในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ เทรดเดอร์มักมองหากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อรับมือกับความผันผวนของราคาสินทรัพย์ เช่น โลหะและพลังงาน สินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมัน ทองคำ และเงิน มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก และการทำความเข้าใจการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้ต้องใช้เวลาและทรัพยากรอย่างมาก กลยุทธ์เหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ เงิน และน้ำมัน

การเทรดตามแนวโน้ม

การเทรดตามแนวโน้มคือการเทรดตามทิศทางของตลาด ไม่ว่าตลาดจะขึ้นหรือลง เทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์นี้ในการลงทุนน้ำมันดิบ จะดูดัชนีน้ำมันดิบเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มปัจจุบัน และเข้าเทรดตามทิศทางของแนวโน้มนั้น

หากต้องการเรียนรู้เทคนิคการเทรดตามแนวโน้มของโลหะและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ เพิ่มเติม คลิกที่นี่

การเทรดด้วยข้อมูลข่าวสาร

เทรดเดอร์ที่เน้นปัจจัยพื้นฐาน หรือที่เรียกว่าเทรดเดอร์ตามข่าว จะวิเคราะห์เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจและข่าวสารต่างๆ ที่มีผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น เมื่อความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น เทรดเดอร์อาจเข้าซื้อ เนื่องจากคาดว่าราคาในตลาดจะสูงขึ้น การเทรดทองคำต้องอาศัยการติดตามสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาทองคำ

การเทรดในกรอบ

กลยุทธ์นี้ให้ความสำคัญกับการระบุระดับแนวรับและแนวต้าน ซึ่งเป็นระดับราคาที่คาดว่าราคาของสินค้าโภคภัณฑ์มีความผันผวน ตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์ที่กำลังศึกษาการเทรดน้ำมันดิบ อาจซื้อน้ำมันดิบเมื่อราคาแตะระดับแนวรับ และขายเมื่อราคาแตะระดับแนวต้าน เพื่อทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาภายในช่วงราคาที่ค่อนข้างคงตัว

การเทรดระยะยาว

การเทรดระยะยาวคือกลยุทธ์ระยะยาวที่เทรดเดอร์ถือครองสินค้าโภคภัณฑ์เป็นเวลานาน วิธีการนี้ให้ความสำคัญกับแนวโน้มระยะยาวของปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น พลังงานและโลหะ มากกว่าความผันผวนในระยะสั้น

การเทรดเมื่อราคาทะลุกรอบ

เมื่อราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ทะลุผ่านระดับแนวต้านหรือตกลงต่ำกว่าระดับแนวรับ เทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์การทะลุกรอบจะเข้าดำเนินการเปิดสถานะ ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการเทรดทองคำในช่วงที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน การทะลุกรอบของราคาอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของราคาที่สำคัญ

การเทรดตามฤดูกาล

สินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิดแสดงรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาตามฤดูกาลที่อาจเป็นประโยชน์ต่อเทรดเดอร์ การเทรดตามฤดูกาลเป็นการใช้ประโยชน์จากรูปแบบเหล่านี้ เช่น ความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นในฤดูหนาว หรือรอบการผลิตของพืชผลทางการเกษตร

การเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดเดียว

การมุ่งเน้นไปที่สินค้าโภคภัณฑ์เพียงชนิดเดียว เช่น ทองคำ ช่วยให้เทรดเดอร์เข้าใจและติดตามการเคลื่อนไหวของตลาดได้อย่างละเอียด การเทรดทองคำให้ได้ผลดีนั้น ต้องคอยติดตามปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อตลาดทองคำโดยเฉพาะ

อินดิเคเตอร์ยอดนิยมสำหรับการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์

การเลือกใช้อินดิเคเตอร์ทางเทคนิคที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จในการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ หรือโลหะมีค่าอื่นๆ อินดิเคเตอร์เหล่านี้ไม่เพียงช่วยคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของราคา แต่ยังช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างรอบคอบมากขึ้น ด้านล่างนี้เป็นภาพรวมของอินดิเคเตอร์ยอดนิยมที่เทรดเดอร์มักนำมาใช้ในการวิเคราะห์ตลาด

Stochastic oscillator

Stochastic Oscillator เป็นอินดิเคเตอร์โมเมนตัมที่เปรียบเทียบราคาปิดของสินค้ากับช่วงราคาในระยะเวลาหนึ่ง เมื่อเส้น %K และ %D เกิดการตัดกัน จะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของโมเมนตัมราคา เมื่อเส้น %K ตัดขึ้นเหนือเส้น %D จะเป็นสัญญาณซื้อ ส่วนเมื่อเส้น %K ตัดลงใต้เส้น %D จะเป็นสัญญาณขาย การเกิดความไม่สอดคล้องกันและรูปร่างของยอดและหลุมของ Oscillator ยังสามารถบอกถึงความแข็งแกร่งของตลาดและจุดกลับตัวที่อาจเกิดขึ้นได้

หากต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ Stochastic Oscillator ในการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์คลิกที่นี่

Bollinger Bands

Bollinger Bands เป็นเครื่องมือสำคัญที่เทรดเดอร์ใช้ในการประเมินความผันผวนของตลาดและสภาวะการซื้อหรือขายมากเกินไป โดย Bollinger Bands ประกอบด้วยเส้นกลางที่แสดงแนวโน้ม และเส้นบนและล่างที่แสดงระดับแนวต้านและแนวรับตามลำดับ Bollinger Bands จะขยายกว้างออกเมื่อความผันผวนของราคาเพิ่มขึ้น และจะหดแคบลงเมื่อตลาดอยู่ในภาวะเสถียร อินดิเคเตอร์นี้มีประโยชน์ในการวิเคราะห์โมเมนตัมของราคาและจุดที่ราคาอาจเกิดการทะลุผ่านระดับแนวต้านหรือแนวรับ

Relative Strength Index (RSI)

Relative Strength Index (RSI) ช่วยให้เทรดเดอร์ระบุได้ว่าตลาดอยู่ในภาวะการซื้อหรือขายมากเกินไป โดยการวัดความแรงของการเปลี่ยนแปลงราคาในช่วงล่าสุด ค่าของดัชนี RSI มีช่วงอยู่ระหว่าง 0 ถึง 100 โดยค่าที่สูงกว่า 70 จะบ่งชี้ถึงสภาวะการซื้อมากเกินไป และค่าที่ต่ำกว่า 30 จะบ่งชี้ถึงสภาวะการขายมากเกินไป นอกเหนือจากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เทรดเดอร์ยังมองหาสัญญาณการกลับตัวและการแกว่งตัวที่ล้มเหลวภายใน RSI เพื่อทำนายจุดกลับตัวที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของสัญญาณการกลับตัวของ RSI อาจได้รับผลกระทบจากแนวโน้มตลาดโดยรวม

Moving averages

การใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MA) จะช่วยลดความผันผวนของข้อมูลราคา ทำให้เทรดเดอร์สามารถระบุแนวโน้มของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้อย่างชัดเจน การคำนวณค่าเฉลี่ยของราคาในช่วงเวลาที่กำหนดจะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถตัดสินใจเข้าซื้อหรือออกจากการเทรดได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อพิจารณาการเทรดทองคำหรือเงิน ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สามารถบอกได้ว่าแนวโน้มปัจจุบันแข็งแกร่งแค่ไหน และเป็นช่วงเวลาที่ดีในการซื้อหรือขายหรือไม่

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ได้ที่นี่

Moving Average Convergence Divergence (MACD)

MACD เป็นอินดิเคเตอร์โมเมนตัมที่ติดตามแนวโน้มของราคา โดยแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สองเส้นของราคาสินค้านั้นๆ เส้น MACD คำนวณได้จากผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอกซ์โปเนนเชียล 12 วันและ 26 วัน ขณะที่เส้นสัญญาณเป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 9 วันของเส้น MACD เมื่อเส้น MACD ตัดขึ้นเหนือเส้นสัญญาณ บ่งชี้ถึงแนวโน้มขาขึ้น ในขณะที่การตัดลงต่ำกว่าเส้นสัญญาณบ่งชี้ถึงแนวโน้มขาลง ฮิสโตแกรมช่วยให้เห็นภาพความแตกต่างระหว่างเส้น MACD กับเส้นสัญญาณได้ชัดเจนขึ้น

การกระจายพอร์ทการลงทุนของคุณ

การรวมสินทรัพย์ประเภทสินค้าโภคภัณฑ์เข้าในพอร์ทการลงทุนเป็นกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงรูปแบบหนึ่งที่ช่วยลดความผันผวนของพอร์ทโดยการกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ที่หลากหลาย

โลหะมีค่า เช่น ทองคำและเงิน มักจะรักษามูลค่าได้เป็นอย่างดีในช่วงเวลาที่ตลาดมีความผันผวนสูง กล่าวคือ ถ้าการลงทุนในหุ้นหรือสินทรัพย์อื่นๆ กำลังเผชิญกับความผันผวนสูง การลงทุนในโลหะมีค่าอาจยังคงให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างคงที่ ในทางกลับกัน ราคาน้ำมันมีความผันผวนสูง ซึ่งอาจสร้างผลกำไรได้ หากคุณสามารถคาดการณ์ทิศทางของตลาดได้อย่างถูกต้องและตัดสินใจลงทุนได้ทัน การกระจายการลงทุนของคุณไปยังทั้งโลหะมีค่าและน้ำมัน ทำให้คุณไม่เสี่ยงกับการลงทุนทั้งหมดในสินทรัพย์เดียว ซึ่งช่วยให้คุณบริหารความเสี่ยงและรักษาทุนได้ดีขึ้น

ที่ Exness เราให้บริการสินค้าโภคภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมและมีการเทรดมากที่สุดในกลุ่มโลหะและพลังงาน

ข้อดีและความเสี่ยงของการเทรด CFD สินค้าโภคภัณฑ์

ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในน้ำมัน ไปจนถึงการเทรดทองคำหรือเงิน ล้วนมีทั้งข้อดีและความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป การทำความเข้าใจทั้งข้อดีและข้อเสียเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการประสบความสำเร็จในตลาดนี้ ในส่วนนี้ เราจะมาพูดถึงข้อดีที่ดึงดูดให้นักลงทุนสนใจสินค้าโภคภัณฑ์ และความเสี่ยงที่ต้องจัดการ

ข้อดีของการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์

  • การกระจายพอร์ทการลงทุน: การเทรดโลหะและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ เป็นกลยุทธ์ในการลดความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ทการลงทุน
  • ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ: สินค้าโภคภัณฑ์เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากราคาของสินค้าโภคภัณฑ์มักเพิ่มขึ้นเมื่อค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น
  • โอกาสในการเก็งกำไร: ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เปิดโอกาสให้เทรดเดอร์ที่ต้องการเก็งกำไร เพราะสามารถใช้การคาดการณ์และแนวโน้มของตลาดมาทำกำไรได้
  • ความโปร่งใสของราคา: ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ขึ้นอยู่กับอุปทานตลาดทั่วโลกและอุปสงค์ของอุตสาหกรรม ทำให้ราคาโปร่งใส ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเทรดเดอร์ในการติดตามการเคลื่อนไหวของตลาด
  • สภาพคล่องและปริมาณการซื้อขายสูง: การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน ซึ่งเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ด้านพลังงานที่สำคัญ ช่วยให้เทรดเดอร์เข้าถึงตลาดที่มีสภาพคล่องและปริมาณการซื้อขายสูง ส่งผลให้เกิดโอกาสในการซื้อขายจำนวนมาก
  • เลเวอเรจ: โบรกเกอร์สินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่อนุญาตให้สามารถเทรดแบบมาร์จิ้น ซึ่งเป็นการใช้เงินกู้เพื่อขยายขนาดการลงทุน ส่งผลให้ทั้งผลตอบแทนและความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

ความเสี่ยงของการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์

  • ความผันผวนของตลาด: สินค้าโภคภัณฑ์บางประเภทมีความผันผวนสูง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ เช่น สภาพอากาศ ความไม่มั่นคงทางการเมือง และภัยธรรมชาติ ส่งผลให้เกิดความผันผวนของราคาอย่างมีนัยสำคัญ
  • ความเสี่ยงจากการใช้เลเวอเรจ: แม้การใช้เลเวอเรจจะช่วยเพิ่มกำไรได้ แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการขาดทุนอย่างหนักเช่นกัน ซึ่งในบางกรณีอาจสูงกว่าเงินลงทุนเริ่มต้น
  • ความซับซ้อน: การเทรดสินค้าโภคภัณฑ์มีความซับซ้อนสูง เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆ มากมายที่มีผลต่อราคา จึงจำเป็นต้องมีความรู้และประสบการณ์ที่เพียงพอ
  • ความเสี่ยงจากกฎเกณฑ์: การเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎระเบียบของรัฐบาลสามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์และกลยุทธ์การเทรด
  • ความกังวลเรื่องสภาพคล่อง: สินค้าโภคภัณฑ์บางชนิดอาจเผชิญกับช่วงเวลาที่มีสภาพคล่องต่ำ ทำให้การเข้าซื้อหรือขายยากขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อราคาตลาด
  • นโยบายและความตึงเครียดทางรัฐภูมิศาสตร์: แม้ตลาดน้ำมันจะมีโอกาสทำกำไรสูง แต่ก็เผชิญกับความตึงเครียดทางรัฐภูมิศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านพลังงาน ซึ่งอาจทำให้บริษัทน้ำมันเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันอย่างรุนแรงได้

คำถามที่พบบ่อย

Hard commodity เช่น ทองคำ น้ำมัน หรือแร่เหล็ก เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ต้องขุดหรือสกัดมาจากธรรมชาติ ในทางกลับกัน Soft commodity คือผลิตผลทางการเกษตรหรือปศุสัตว์ เช่น ข้าวสาลี กาแฟ วัว หรือน้ำตาล ความแตกต่างหลักๆ จะอยู่ที่ลักษณะของสินค้า โดยทั่วไป Hard commodity มีอายุการเก็บรักษานานกว่า และมักใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอื่นๆ ในขณะที่ Soft commodity มักจะเน่าเสียได้ง่าย และสามารถบริโภคได้โดยตรง

สำหรับมือใหม่ที่อยากเริ่มเทรดทองคำและเงิน ควรปฏิบัติตาม 5 ขั้นตอน ดังนี้

  1. ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง: เรียนรู้พื้นฐานของตลาดโลหะมีค่า รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา และวิธีการเทรดทองคำและเงิน (เช่น ทองคำแท่ง, ETF, สัญญาซื้อขายล่วงหน้า)
  2. ตั้งงบประมาณ: กำหนดว่าคุณสามารถลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ได้มากน้อยเพียงใดโดยไม่กระทบต่อความมั่นคงทางการเงินของคุณ อย่าเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ด้วยเงินที่คุณไม่สามารถสูญเสียได้
  3. เลือกแพลตฟอร์ม: เลือกแพลตฟอร์มการเทรดหรือโบรกเกอร์ที่มีชื่อเสียง ซึ่งให้บริการเข้าถึงตลาดทองคำและเงิน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าบริษัทนั้นได้รับการควบคุมดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีรีวิวที่ดีจากลูกค้า
  4. เริ่มลงทุนด้วยเงินจำนวนน้อย: เริ่มต้นด้วยการลงทุนในจำนวนเงินที่ไม่มากนัก เพื่อทำความเข้าใจกลไกของตลาด การทำเช่นนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการขาดทุนขณะที่คุณได้รับประสบการณ์มากขึ้น
  5. ติดตามและเรียนรู้: ติดตามตลาดและศึกษาข้อมูลข่าวสารทางเศรษฐกิจที่อาจส่งผลต่อราคาโลหะมีค่าต่างๆ เรียนรู้จากการเทรดแต่ละครั้ง และปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมอยู่เสมอ

สำหรับผู้เริ่มต้นที่ต้องการเทรดน้ำมัน ควรทำตาม 5 ขั้นตอน ดังนี้

  1. ศึกษาข้อมูลด้วยตนเอง: เรียนรู้เกี่ยวกับการเทรดน้ำมันดิบเบื้องต้น โดยศึกษาการเคลื่อนไหวของตลาดและปัจจัยที่มีผลต่อราคา เช่น ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ อุปทานและอุปสงค์ และเหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ต่างๆ
  2. เลือกโบรกเกอร์และแพลตฟอร์ม: เลือกแพลตฟอร์มการเทรดและเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือ
  3. ฝึกฝนด้วยบัญชีทดลอง: เริ่มด้วยการฝึกเทรดในบัญชีทดลองเพื่อสร้างความมั่นใจ
  4. วางแผนและกำหนดกลยุทธ์: สร้างกลยุทธ์การเทรดโดยใช้หลักการวิเคราะห์ทางเทคนิค การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน
  5. ค่อยเป็นค่อยไป: เริ่มเทรดด้วยจำนวนเงินที่น้อยและติดตามตลาดอย่างใกล้ชิด เพราะราคาสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทพลังงานอย่างน้ำมันอาจมีความผันผวนมากกว่าราคาโลหะ

ในการเทรดทองคำและเงินนั้น ควรทำความเข้าใจว่า ทั้งทองคำและเงินมีหลักการเทรดที่คล้ายกัน โดยอิงจากหลักอุปสงค์และอุปทาน แต่การเทรดพลังงานนั้นอาจมีความอ่อนไหวต่อข่าวเศรษฐกิจและการเมืองมากกว่า ขณะที่ทองคำและเงินมักทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงที่ตลาดผันผวน

เทรดเดอร์มักใช้แนวทางแบบองค์รวม เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ปรับตัวตามตลาด ผสานวิธีเทรดให้เหมาะกับความเสี่ยง ระยะเวลา และบทวิเคราะห์ เพื่อให้ได้กลยุทธ์ที่ดีและตอบโจทย์

การเทรดในตลาดนี้ให้ประสบความสำเร็จ ควรใช้เลเวอเรจอย่างระมัดระวัง เพราะแม้จะเพิ่มโอกาสทำกำไรได้มาก ก็อาจขาดทุนหนักได้เช่นกัน หมั่นทำความเข้าใจและติดตามวัฏจักรของตลาด โดยเรียนรู้อุปสงค์และอุปทานที่ส่งผลต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เรียนรู้ที่จะรับมือกับความผันผวนด้วยการเริ่มเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ที่ราคาไม่ผันผวนมากนัก และเลือกขนาดการซื้อขายให้เหมาะสมกับความผันผวนของราคา ไม่ใช่แค่ดูที่เงินที่มีอยู่ในบัญชีเท่านั้น สุดท้าย เลือกโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพ ค่าธรรมเนียมต่ำ และมีแพลตฟอร์มการเทรดที่แข็งแกร่ง เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์การเทรดที่ดีที่สุดและมีโอกาสทำกำไรสูงสุด

การเทรดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า มักเกี่ยวข้องกับคณะกรรมการกำกับดูแลการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ (CFTC) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลที่มีหน้าที่ดูแลความโปร่งใสของตลาด สัญญาซื้อขายล่วงหน้าซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานนี้ เป็นข้อตกลงทางกฎหมายในการซื้อหรือขายสินค้าโภคภัณฑ์ในราคาที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าและในเวลาที่กำหนดไว้ในอนาคต สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแต่ละฉบับจะระบุปริมาณของสินค้าโภคภัณฑ์และวันส่งมอบที่แน่นอน แตกต่างจากสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) ที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าและไม่มีวันหมดอายุ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์มีวันหมดอายุที่กำหนด ทำให้มีความยืดหยุ่นน้อยกว่า

ความแตกต่างที่สำคัญอีกอย่างคือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีการซื้อขายในตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และมีวันหมดอายุที่กำหนดไว้ชัดเจน โดยทั้งสองฝ่ายต้องชำระหนี้กันในวันดังกล่าว ตรงกันข้าม สัญญาซื้อขายส่วนต่างไม่มีวันหมดอายุที่กำหนดไว้ และผู้ซื้อขายจะไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์จริง ความแตกต่างที่สำคัญนี้เน้นย้ำว่า แม้เครื่องมือทางการเงินทั้งสองจะอนุญาตให้มีการเก็งกำไรในราคาสินค้าโภคภัณฑ์ แต่ก็มีรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกันในแง่ของระยะเวลาการซื้อขายและลักษณะของข้อผูกพัน นอกจากนี้ CFD ยังมีตัวเลือกที่หลากหลายมากกว่าในการเทรดด้วยเลเวอเรจ

เริ่มเทรดสินค้าโภคภัณฑ์กับ Exness

การเข้าสู่วงการนี้ ต้องอาศัยความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความแตกต่างระหว่างการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์แบบดั้งเดิมและการซื้อขายสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) ของสินค้าโภคภัณฑ์ Exness ช่วยให้คุณก้าวข้ามอุปสรรคเหล่านี้ไปด้วยความมั่นใจ แพลตฟอร์มของเราช่วยให้เทรดเดอร์ได้เรียนรู้การเทรดน้ำมัน ทองคำ เงิน และโลหะอื่นๆ ผ่านสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) พร้อมโอกาสในการซื้อและขายได้อย่างยืดหยุ่น ถึงแม้การเทรดด้วยเลเวอเรจสูงจะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไร แต่ก็ต้องยอมรับว่าความเสี่ยงในการขาดทุนก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย เทรดเดอร์ต้องประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยงของตนเอง โดยพิจารณาจากกรอบงานกำกับดูแลที่เข้มงวดของ Exness ซึ่งเป็นการรับประกันมาตรฐานความปลอดภัยทางการเงินและการคุ้มครองลูกค้าในระดับสูง

ด้วยประสบการณ์ 15 ปีที่น่าเชื่อถือ Exness มอบความอุ่นใจให้กับเทรดเดอร์ทุกคนที่ต้องการแพลตฟอร์มการซื้อขายและเงื่อนไขตลาดที่น่าเชื่อถือ ถ้าคุณเพิ่งเริ่มต้นเทรด ลองใช้บัญชีทดลองที่ปราศจากความเสี่ยงของเรา เพื่อทดสอบก่อนที่จะลงทุนจริง เมื่อคุณพร้อมที่จะลงทุน คุณสามารถพิจารณาเลือกบัญชีมาตรฐาน หรือบัญชีสำหรับมืออาชีพ และรับความช่วยเหลือจากฝ่ายบริการลูกค้าทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงของเรา

แชร์


เริ่มเทรดเลย

ข้อมูลนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำการลงทุน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่อาจใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ผลการดำเนินงานในอนาคต เงินลงทุนของคุณมีความเสี่ยง โปรดเทรดอย่างรอบคอบ